ประแจ คือเครื่องมือสำหรับ ขันเกลียวนอตหรือ ยึดอุปกรณ์ต่างๆ มีลักษณะเป็นด้ามยาวส่วนหัวมีรูปทรงพอดีกับอุปกรณ์ เพื่อใช้สำหรับล็อกอุปกรณ์ เช่น นอต ประแจผลิตจากเหล็กกล้าโดยส่วนใหญ่ ซึ่งเหล็กกล้าจะมีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กทั่วไป ประแจมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะการใช้งาน เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานสำหรับใช้ในงานติดตั้งประกอบอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านและงานซ่อมบำรุงทั่วไป
ประแจมีกี่แบบ?
จริงๆแล้ว ประแจมีมากกว่า 40 แบบในท้องตลาด แต่คนส่วนใหญ่มักรู้จักประแจไม่กี่แบบ เช่น ประแจแหวน หรือ ประแจปากตาย เพราะประแจบางประเภทได้มีการเลิกใช้ หรือ ใช้ในวงแคบ เราจะดูกันว่าประแจแต่ละแบบต่างกันอย่างไร
1.ประแจปากตาย Open Ended Wrench
ประแจปากตายมีปลายทั้งสองด้านเป็นรูปตัวยู (U) ซึ่งมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ประแจปากตายไม่ต้องการใช้แรงขัน หรือคลายมากนักเพราะมีด้านที่รับแรงจริง ๆ เพียง 2 ด้าน
2.ประแจแหวน Box-Ended Wrench
ประแจแหวน คือ ประแจที่ใช้กับแรงกดหรือขันมาก ประแจชนิดนี้จับเหลี่ยมของโบลต์และน็อตได้เต็มที่ ดังนั้นจึงใช้แรงดึงและดันได้สูงมาก แต่การใช้งานต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจึงจะจับชิ้นงานได้อย่างสมบูรณ์
3. ประแจแหวนข้างปากตาย Combination Wrench.
ประแจรวม หรือ ประแจแหวนข้างปากตาย คือ เป็นประแจที่ช่างมักนิยมใช้ ประแจที่รวมเอารูปร่างและคุณสมบัติของประแจปากตายและประแหวนเข้าด้วยกันซึ่งด้านหนึ่งเป็นประแจแหวน อีกด้านหนึ่งเป็นประแจปากตาย
4. ประแจด้ามสั้น Stubby Wrench
ประแจแรงดึง สามารถใช้สำหรับการใช้งานอื่นได้ พวกเขาสามารถแข็งหรือยืดหยุ่นได้ขึ้นอยู่กับความหลากหลาย
5. ประแจค้อน Hammer Wrench
ประแจค้อนมีลักษณะสั้นหนา มีปลายบล็อกที่ใช้สำหรับการตีด้วยค้อน เพื่อส่งแรงจำนวนมาก มักใช้เพื่อช่วยกระชับส่วนควบของหน้าแปลน และตัวยึดขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประแจค้อนเพื่อช่วยคลายน็อต และสลักเกลียวที่ติดหรือเป็นสนิมผ่านแรงสูง ประแจสำหรับงานหนักนี้ใช้ในงานโลหะงานประปา หรืองานไฟฟ้าบางประเภท
6. ประแจเลื่อน Adjustable Wrench
ประแจแบบปรับได้เรียกอีกอย่างว่าประแจวงเดือน เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันเนื่องจาก มีลักษณะเป็นเสี้ยวที่ปรับได้ซึ่งมักจะควบคุมโดยสกรูที่คุณหมุน ประแจนี้สามารถทำงานทั้งหมดของประแจแบบอยู่กับที่ อันเดียวทำหน้าที่แทนได้ทั้งชุด
7.ประแจหกเหลี่ยม Allen Wrench
ประแจหกเหลี่ยม หรือ ประแจแอลเป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่ใช้สำหรับขันยึดและคลายหัวสกรู น็อต หรือสลักเกลียวต่างๆ ที่เป็นหัวหกเหลี่ยมหรือหลุมหกเหลี่ยม โดยทั่วไปประแจจะมีลักษณะเป็นแท่งเหล็กทรงหกเหลี่ยมรูปตัวแอล ปลายทั้งสองฝั่งเป็นหน้าตัดแบบหกเหลี่ยม
8.ประแจหัวทอร์ค Torx Key
ประแจหัวทอร์คมีลักษณะคล้ายกับประแจหกเหลี่ยม ต่ากันตรงหัวที่เป็นหัวดาว ซึ่งใช้งานกับสกรู Torx
9.ประแจขันน็อตล้อรถยนต์
เป็นประแจที่ถูกออกแบบให้มีห้วขันที่ขนาดพอดีกับน็อตล้อของรถยนต์ ประแจขันน็อตล้อจะมีลักษณะเป็นแท่งเหล็ก 2 อันไขว้กัน โดยแต่ละปลายของประแจจะมีขนาดพอดีสำหรับขันน็อตในขนาดที่แตกต่างกัน
10. ประแจถอดกรองน้ำมันเครื่อง Oil Filter Wrench
ประแจถอดกรองน้ำมันเครื่องทำงานร่วมกับซ็อกเก็ตกรองน้ำมันเพื่อให้การเปลี่ยนไส้กรองง่ายและสะดวก ประกอบด้วยสายรัด ช่วยเพิ่มแรงบิดให้คลายเกลียวตัวกรองน้ำมันเครื่องได้ง่าย
11.ประแจท่อ Pipe Wrench
ประแจท่อ หรือ ประแจคอม้า เป็นประแจแบบปรับขนาดได้ด้วยการออกแบบรูปตัว F ที่แข็งแรงกว่า ใช้ในงานขันท่อโลหะ หรือข้อต่อที่มีผิวกลม ประแจชนิดนี้ออกแบบให้ฟันของประแจที่หน้าสัมผัสกินเข้าไปในผิวสัมผัสในขณะใช้งาน เพื่อให้จับชิ้นงานได้แน่นหนา จึงไม่เหมาะสำหรับใช้ขันน็อต เพราะจะทำให้หัวน็อตเสียหายได้
12.ประแจแหวนฟรี Ratcheting Wrench
ประแจแหวนฟรี คือ ประแจวงล้อที่โครงสร้างการออกแบบให้สามารถปรับทิศทางการขันได้ และสามารถขันและคลายสกรูได้ต่อเนื่องโดยที่ไม่ต้องยกประแจออก
13.ประแจปอนด์ Torque wrench
ประแจปอนด์ เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตั้งค่าแรงบิด ค่าทอร์คการไขน็อต หรืออุปกรณ์ยึดต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไขแน่นเกินไป หรือหลวมเกินไป
14.คีมคอม้า Pliers Wrench
เป็นคีมที่สามารถขยายขนาดปากได้หลายตำแหน่ง ปากคีมโค้งมน มีร่องฟันบริเวณปากเพื่อช่วยจับชิ้นงานไม่ให้ลื่น
การประยุกต์ใช้งานประแจในลักษณะต่างๆ
ประแจมีหลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองการใช้งานของเราที่มีความแตกต่างกันไปนั้นเอง หากต้องการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน หรือ ควรปรึกษาผู้ใช้งานที่มีประสบการณ์เครื่องมือช่างมาอย่างยาวนาน เพื่อความปลอดภัยและการทำงานที่ราบรื่นยิ่งขึ้น
-หากต้องการคลายน็อตที่มีความแน่นมาก สามารถใช้ท่อสวมเข้ากับด้ามประแจเพื่อเพิ่มเนื้อที่ในการจับและช่วยให้มีแรงบิดมากขึ้น สำหรับการประยุกต์ใช้ท่อสวมที่ด้ามประแจนั้นควรใช้เฉพาะตอนคลาย น็อตเท่านั้น หากสวมท่อตอนขันน็อตเข้าและออกแรงมากเกินไปอาจทำให้น็อตตัวผู้หักหรือเสียหายได้
-กรณีที่เหลี่ยมหัวน็อตเสียหาย และไม่สามารถใช้ประแจปากตายหรือประแจแหวนขันได้โดยตรง สามารถนำประแจเลื่อนมาช่วยในการจับยึดและออกแรงบิดคลายน็อตได้เช่นกัน
-หากต้องการถนอมหัวน็อตไม่ให้เหลี่ยมสึกหรอเร็วกว่ากำหนด สามารถใช้ประแจชนิดต่างๆ ร่วมกันได้ เช่น ใช้ประแจปากตายและประแจแหวนสลับกัน โดยใช้ประแจปากตายคลายน็อตที่ยึดแน่นอยู่และตามด้วยประแจแหวน เนื่องจากประแจแหวนมีคุณสมบัติที่สามารถจับหัวน็อตได้ดีกว่า จึงช่วยถนอมหัวน็อตได้มากกว่าประแจปากตาย