แชร์

ปั๊มเติมอากาศ

อัพเดทล่าสุด: 15 พ.ย. 2024
5 ผู้เข้าชม
ปั๊มเติมอากาศ

เครื่องเติมอากาศ BLOWER
เครื่องเติมอากาศ หรือ Blower เป็นเครื่องจักรที่ทางสมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้กำหนดไว้ว่า เครื่องเติมอากาศ (Blower) มีจำนวนมากและมีความหลากหลาย เพื่อเลือกนำไปใช้ให้ตรงกับความต้องการ

การเติมออกซิเจนให้กับน้ำช่วยบำบัดน้ำเสีย
หนึ่งในปัญหาที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของทั้งคนและสิ่งมีชีวิตคือปัญหาน้ำเสีย เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ในการดำรงชีวิตของทั้งคนและสิ่งมีชีวิต ปัญหาน้ำเสียนั้นมีสาเหตุได้หลากหลายปัจจัย และยังส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทั้งทางตรงและทางอ้อมได้โดยตรง ซึ่งโดยปกติแล้วธรรมชาติสามารถบำบัดน้ำเสียเหล่านี้ให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอยู่แล้ว แต่ด้วยปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นปัจจุบันทำให้การบำบัดโดยธรรมชาติไม่เพียงพออีกต่อไป เราจึงต้องนำนวัตกรรมเครื่องจักรเข้ามาช่วยในการบำบัดน้ำเสียเพื่อคืนความสมดุลสู่ธรรมชาติด้วยการใช้เครื่องเติมอากาศ

เครื่องเติมอากาศนวัตกรรมช่วยบำบัดน้ำเสีย
การเติมอากาศเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งของระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นขั้นตอนที่มีการใช้พลังงานสูง เนื่องจากบ่อบำบัดน้ำเสียต้องมีการเลี้ยงเชื้อในบ่อ เพื่อให้เชื้อจับของเสียที่อยู่ในบ่อจนมีการตกตะกอน ดังนั้นจำเป็นต้องใช้เครื่องเติมอากาศ ในการเติมอากาศให้เชื้อ เพื่อให้เชื้ออยู่รอดได้

ประเภทเครื่องเติมอากาศแต่ละรูปแบบ
ตัวเครื่องเติมอากาศยังมีการแบ่งรูปแบบประเภทตามลักษณะรูปแบบการใช้งานของแต่ละประเภท โดยเราสามารถแบ่งประเภทเครื่องเติมอากาศได้ดังนี้
1.ปั๊มลมเติมอากาศบนบก
1.1 ปั๊มลม (Air Pump)
       เครื่องเติมอากาศขนาดเล็ก หรือ ปั๊มลม สามารถแบ่งตามลักษณะของการทำงานของปั๊มได้หลายแบบ โดยระบบที่เป็นที่นิยมในท้องตลาด คือปั๊มลมระบบไดอะแฟรม ตัวปั๊มมีน้ำหนักเบา ขนาดกะทัดรัด ตัวปั๊มอยู่บนบก สามารถติดตั้งและดูแลรักษาได้ง่าย ทำงานด้วยระบบดับเบิ้ลไดอะแฟรม ใช้หลักการเหนี่ยวนำแกนแม่เหล็กไฟฟ้า ผลิตลมออกมาได้อย่างต่อเนื่อง  มีการระบายความร้อนได้ดี ที่สำคัญตัวปั๊มยังมีเสียงเงียบ และประหยัดพลังงาน นิยมนำไปใช้งานกับบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ บ่อปลา บ่อบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก เป็นต้น

1.2 เครื่องเติมอากาศ ระบบ Rotary Blower
      เครื่องเติมอากาศแบบโรตารี่ มีขนาดกะทัดรัด ติดตั้งได้ง่าย ระบบใบพัดโรตารี่ให้ปริมาณลมอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญตัวปั๊มยังมีเสียงเบา เพราะใช้รอบความเร็วที่ต่ำ ใบพัดโรตารี่มีขนาดเล็ก ขั้นตอนดูแลรักษาน้อย สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ใช้วิธีการเติมน้ำมันเมื่อพร่อง มีอายุการใช้งานนาน นิยมนำไปใช้งานกับบ่อบำบัดน้ำเสียที่ต้องการปริมาณอากาศมากกว่าปั๊มลมขนาดเล็ก

1.3 เครื่องเติมอากาศ Root Blower
      เครื่องเติมอากาศแบบ Root Blower ใบพัดแบบ Three Lobes ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ประกอบ มู่เลย์ (Pulley) และสายพาน ตัวปั๊มแข็งแรงทนทาน มีขนาดใหญ่ทำลมได้เยอะ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และมี Valve ป้องกันการไหลย้อนกลับ แบ่งออกเป็นแบบแนวนอน (Horizontal Blower) และแนวตั้ง (Vertical Blower) โดยแบบแนวตั้งจะมีเสียงเงียบ และดูแลรักษาที่ง่ายกว่า นิยมใช้ในงานบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม หรือระบบสุขาภิบาล และฟาร์มสัตว์น้ำขนาดใหญ่

1.4 เครื่องเติมอากาศ Ring Blower
      เครื่องเติมอากาศแบบริงโบลเวอร์ เป็นเครื่องเติมอากาศที่ทำงานด้วยระบบใบพัดแรงดันสูง สามารถทำงานได้ทั้งดูด และเป่า ตัวปั๊มเป็นแบบวงแหวน มีท่อ 2 ท่อ ท่อข้างในสำหรับ ดูดอากาศเข้ามา ท่ออีกข้างสำหรับปล่อยอากาศออก ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ตัวปั๊มมีโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน ให้ปริมาณลมอย่างสม่ำเสมอ ส่วนมากนิยมนำใช้ไปในงานระบบสปา ระบบบำบัดนำเสีย ใช้งานในระบบเลี้ยงสัตว์น้ำ

2.ปั๊มลมเติมอากาศใต้น้ำ

2.1.เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ Aerator
       เครื่องเติมอากาศแบบ Aerator (Submersible Aerator pump)  มีลักษณะเป็นแบบปั๊มจุ่ม ตัวปั๊มทำงานโดยการแช่อยู่ในน้ำ พ่นอากาศออกรอบทิศทาง 360 องศา เหมาะกับการใช้งานในบ่อบำบัดที่มีลักษณะกลม หรือจตุรัส ทำงานด้วยการดูดอากาศจากท่อด้านบน ใบพัดชนิดกึ่งเปิดแบบพิเศษ มีการให้ปริมาณออกซิเจนกระจายอย่างทั่วถึง ตัวปั๊มอยู่ใต้น้ำ ทำให้ไม่มีเสียงรบกวน นิยมนำไปใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดค่า BOD หรือค่าความสกปรกของน้ำเสีย

2.2. เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ Ejector
         เครื่องเติมอากาศแบบ Ejector (Submersible ejector pump) ลักษณะคล้ายปั๊มจุ่ม แต่ทำงานโดยการดูดอากาศจากด้านบนผิวน้ำ และพ่นอากาศทิศทางเดียวผ่าน Diffuser  ทำให้เกิดการหมุนเวียนในแนวดิ่ง ทำให้เติมอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพในบริเวณกว้าง ที่ตัวปั๊มอยู่ใต้น้ำ ทำให้ไม่มีเสียงรบกวนนิยมนำไปใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย เหมาะกับถังบำบัด หรือบ่อบำบัดที่มีลักษณะเป็นแนวยาว หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า

 

ปั๊มเติมอากาศใต้น้ำในการบำบัดน้ำเสียแต่ละชนิด ต่างกันอย่างไร
เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ (Submersible Aerator) หรือ ปั๊มเติมอากาศใต้น้ำ ((Submersible Pump)
มีลักษณะผสมกันระหว่างเครื่องสูบน้ำ (Pump) เครื่องดูดอากาศ (Air Blower) และเครื่องตีอากาศให้ผสมกับน้ำ (Disperser) อยู่ในเครื่องเดียวกัน แต่มีข้อจำกัดด้านการกวนน้ำ (Mixing) ของแต่ละรุ่นแตกต่างกันออกไป โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
เครื่องเติมอากาศใต้ผิวน้ำแบบรอบทิศ (Submersible Aerator pump)
       เป็นเครื่องเติมอากาศแบบติดตั้งใต้น้ำ มีฟังชั่นการทำงานแบบสูบอากาศด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแบบปั๊มจุ่ม ตัวปั๊มทำงานโดยการแช่อยู่ในน้ำบางส่วนหรือทั้งตัวปั๊ม การพ่นอากาศออกรอบทิศทาง 360 องศา ใบพัดมีลักษณะกึ่งเปิด (semi-open) แบบพิเศษที่ติดตั้งไว้ภายใน ทำให้เกิดการดึงอากาศจากบริเวณผิวน้ำลงสู่ใต้น้ำ อากาศที่ถูกดูดจะผสมกับน้ำและถูกระบายออกไปด้วยแรงดันสูง กลไกนี้ถูกคิดค้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการแตกตัวของออกซิเจนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะกับการใช้งานในบ่อบำบัดที่มีลักษณะกลม หรือ สี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำงานด้วยการดูดอากาศจากท่อด้านบน มีการให้ปริมาณออกซิเจนกระจายอย่างทั่วถึง อาทิเช่น เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ KIRA รุ่น SP

 

ระบบการทำงาน

1. เริ่มต้นทำงานจากการการดึงอากาศจากบนพื้นดินลงไปที่ปั๊ม


2. อากาศที่ส่งลงมาตามท่อจะทำให้ใบพัดเริ่มหมุน พร้อมทั้งเชื่อมต่อโดยตรงกับมอเตอร์ เพื่อสร้างแรงเหวี่ยงหรือแรงเหวี่ยงหนีศูนย์

3. เมื่อมีอากาศเข้าสู่ท่อ มอเตอร์ที่ทำงานจะสร้างความดันเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเกิดเป็นสุญญากาศ

4. การเกิดแรงเหวี่ยง ส่งผลทำให้ดึงอากาศที่เติมเข้าจากด้านบนและน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำมาผสมกัน และพ่นออกมาในทางช่องระบายอากาศรอบทิศทางอย่างรวดเร็ว (เป็นการบำบัดน้ำเสีย)

5. อากาศและน้ำที่พ่นออกมาจะมีฟองอากาศเล็ก ๆ และมีค่า Oxygen transfer rate (BHP) สูงกว่าปั๊มน้ำรุ่นอื่น ๆ
เครื่องเติมอากาศแบบ Ejector (Submersible ejector pump)
            เป็นเครื่องเติมอากาศแบบติดตั้งใต้น้ำ มีลักษณะคล้ายปั๊มจุ่ม ตัวปั๊มทำงานโดยการแช่อยู่ในน้ำ แต่ทำงานโดยการดูดอากาศจากด้านบนผิวน้ำ และพ่นอากาศทิศทิศทางเดียวผ่าน Diffuser ทำให้เกิดการหมุนเวียนในแนวดิ่ง ทำให้เติมอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพในบริเวณกว้างแต่ไม่ได้รอบด้าน ที่ตัวปั๊มอยู่ใต้น้ำทำให้ไม่มีเสียงรบกวน นิยมนำไปใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย เหมาะกับถังบำบัดหรือบ่อบำบัดที่มีลักษณะเป็นแนวยาว หรือ สี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ

ระบบการทำงาน

1. เริ่มจากการดึงอากาศจากด้านบนพื้นดินลงสู่ท่อเพื่อส่งไปยังตัวปั๊ม

2. ตัวปั๊มจะดูดน้ำเสียจากบริเวณด้านหลังตัวปั๊ม เพื่อนำน้ำเสียมาผสมรวมตัวกันกับอากาศที่ส่งมาข้างต้น

3. เมื่อน้ำเสียและอากาศมาผสมกันจะถูกผลักด้วยแรงดัน พร้อมพ่นออกจากตัวปั๊มออกสู่บ่อน้ำเสีย (เป็นการบำบัดน้ำเสีย)

4. โดยน้ำที่พ่นออกมาของตัวปั๊มจะออกมาในทิศทางเดียว ไม่ได้มีการกระจายรอบทิศทางเหมือนรูปแบบ เครื่องเติมอากาศใต้ผิวน้ำแบบรอบทิศ (Submersible Aerator pump)

3 เทคนิคการเลือกซื้อปั้ม
แอร์ปั้ม คือเครื่องเติมอากาศขนาดเล็ก โดยมีหลักการทำงานโดยใช้ไดอะแฟรมคู่ทำให้กำลังลมที่ออกมา มีความสม่ำเสมอ แรงต่อเนื่อง เหมาะสำหรับเติมอากาศในถังบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก และขนาดกลาง เพราะมีเสียงเงียบ ประสิทธิภาพการทำงานสูง

เลือกขนาดแอร์ปั้มให้เหมาะสมกับขนาดบ่อบำบัดน้ำเสีย
ขนาดบ่อเล็ก ขนาดบ่อใหญ่ ถ้าเลือกใช้ได้ถูกจะช่วยยึดอายุการใช้งานของแอร์ปั้ม

แอร์ปั้ม แต่ละรุ่นในตลาดจะมีความแตกต่างกัน แต่ลักษณะการใช้งานเราต้องเลือกให้เหมาะสมกับหน้างานให้มากที่สุด จะช่วยให้มันทำงานได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า แอร์ปั้ม เหมาะสมกับขนาดบ่อบำบัดน้ำเสีย ถ้าหากว่าเราซื้อถังสำเร็จรูป เราสามารถดูได้จากรายการคำณวน แบบถังจากวิศวกรสิ่งแวดล้อม เขาจะระบุปริมาณอากาศได้อย่างชัดเจน 

แต่ถ้าเราเลือกซื้อเอง ขนาดที่เหมาะสมที่สุดในการใช้งานให้ดูที่ ความลึกของบ่อบำบัดน้ำเสียนั้นเอง

ถ้าบ่อบำบัดน้ำเสียลึก 1.5 เมตร เราก็สามารถเลือกแอร์ปั้มที่มีแรงดัน ที่มากกว่า 1.5 เมตรเป็นต้น

มีการรับประกันสินค้าของแท้ 100%

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ