การดูแลรักษาปั๊มลมของคุณเพื่อการใช้งานได้ยาวนานขึ้น จำเป็นมากในการยืดอายุในการใช้งาน ปั้มลมของคุณเพื่อให้ส่วนประกอบของปั๊มลมสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุดและป้องกันการสึกหรอของเครื่องและส่วนประกอบที่อาจจะล้มเหลวและผุพังไปก่อนอายุการใช้งาน เราจึงมาแนะนำการบำรุงรักษาเพื่อเป็นแนวทางในการดูแล ปั๊มลมของคุณให้ปลอดภัย และยืดอายุการใช้งานได้นานมากยิ่งขึ้น
วิธีการบำรุงรักษา ปั้มลมขนาดใหญ่
1.) อ่านและปฏิบัติตามคู่มือปั้มลมของคุณ
ในส่วนของคู่มือที่แนบมาด้วยกับปั๊มลมนั้นจะมีวิธีใช้งานปั๊มลมอย่างละเอียด เพื่อเป็นยืดอายุการใช้งานของเครื่องตามที่ผู้ผลิดแนะนำนอกจากนั้นก็อาจจะมีข้อควรระวังระบุมาด้วยเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ได้รับอันตรายจากปั้มลมและเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเครื่องได้หากผู้ใช้งานใช้ผิดวิธี ดังนั้นสิ่งสำคัญอย่างแรกที่ควรคำนึงถึงนั่นก็คืออ่านคู่มือการใช้งานอย่างละเอียดและเก็บรักษาคู่มือของปั้มลมไว้เพื่อทบทวนหรือสามารถนำมาอ่านเพื่อแก้ไขอาการเสียหายเบื้องต้นที่อาจเกิดขึ้นได้
2.) การทำความสะอาดภายนอกเครื่อง
หลักการดูแลปั๊มลม (Air Compressor) ข้อแรกนั้น เบื้องต้นผู้ใช้เครื่องควรทำการตรวจสอบสภาพ บริเวณพื้นที่ตั้งเครื่อง และตัวเครื่องว่ามีความสกปรกมากน้อยเพียงใด หากบริเวณดังกล่าวมีความสกปรกมาก ผู้ใช้เครื่องควรหมั่นทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากบริเวณพื้นที่วางปั๊มลม (Air Compressor) สกปรกจนเกินไป ฝุ่นในบริเวณพื้นที่จะเริ่มกลายเป็นภาระ ทำให้ปั๊มลม (Air Compressor) ไม่สามรถทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ชั่วโมงอะไหล่สั่นลง ตัวเครื่องกินกระแสไฟสูงขึ้นโดยผู้ใช้เครื่องไม่รู้ตัว
3.) การติดตั้งและตรวจเช็คสายพาน (ปั๊มลมชนิดสายพาน)
วิธีการตรวจเช็คสายพาน ใช้วิธีกดสายพานตรงกลางระหว่างมู่เล่ย์ และ หัวปั๊มลม โดยให้หย่อนได้ประมาณ 1 - 1.5 เซ็นติเมตร หากสายพานตึงเกินไป จะทำให้หัวปั๊มลมทำงานเพิ่มขึ้น,มอเตอร์ร้อน และสายพานขาด หากสายพานหลวมหรือหย่อนเกินไป ก็จะทำให้สูญเสียพลังงาน,สายพานหลุด และ ทำให้เกิดอันตรายได้
4.) หมั่นระบายความชื้นออกจากถัง
ตัวถังเก็บลมเมื่อมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องมักจะมีความชื้นตกค้างสะสมอยู่เพราะอากาศมีส่วนประกอบของน้ำปะปนอยู่จึงอาจจะทำให้ข้างในตัวถังเกิดสนิมหรือผุกร่อนได้ และความชื้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่อาจจะทำให้ปั๊มลมทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ น้ำส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ตรงบริเวณวาวล์ระบายความชื้น คุณจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ระบายเอาความชื้นที่เกาะไว้อยู่ออกอยู่สม่ำเสมอ และก่อนทำการระบายความชื้นคุณควรจะทำการปล่อยแรงดันอากาศออกจากถังก่อน เพื่อความปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะนั้น
5.) หมั่นสำรวจว่าตัวยึดทั้งหมดแน่นอยู่เสมอ
การใช้งานปั๊มลมนั้นส่งผลให้น๊อตหรือหมุดยึดคลายตัวหรือเกิดการหลวมได้ตามอายุการใช้งานเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการใช้งานแล้วจึงควรจะทำการตรวจสอบสภาพของน๊อตและตัวยึดให้แน่นอยู่เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้อะไรหลุดออกมาจากตัวเครื่องทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตัวเครื่องและผู้ใช้งานด้วย
6.) ตรวจสอบท่อสมอ
ควรจะตรวจสอบระบบท่อต่อต่าง ๆ ให้พร้อมกับการใช้งานอยู่เสมอเนื่องจากแรงอัดและแรงดันอากาศอาจจะทำให้เกิดการแตกร้าวหรือผุพัง และอาจจะรั่วไหลในที่สุด อาจจะทำให้ปั้มลมไม่สามารถอัดอากาศได้อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นควรหมั่นตรวจสอบอยู่ตลอดว่ามีความเสียหายหรือไม่และถ้าระบบท่อเกิดการเสื่อมสภาพก็ควรถอดเปลี่ยนใหม่เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานคงอยู่ตลอดอายุการใช้งาน
7.) ในกรณีที่ปั๊มมีระบบเซฟตี้ให้หมั่นทดสอบว่ายังใช้ได้หรือไม่
ให้ทำการทดสอบระบบเซฟตี้ของปั้มลมว่ามีการใช้งานระบบนี้ได้ปกติดีหรือไม่ หากว่าปั๊มลมของคุณมีฟังก์ชั่นของระบบเซฟตี้ติดตั้งไว้อยู่เพื่อเป็นการการันตีความปลอดภัยของผู้ใช้งานอีกหนึ่งชั้นว่าจะได้รับการปกป้องในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นในระหว่างการใช้งานในกรณีที่เครื่องปั๊มลมร้อนเกินไปเครื่องก็จะตัดการทำงานของปั้ม และเพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของตัวปั้มอีกด้วย
8.) ตรวจสอบและเปลี่ยนไส้กรองอากาศเมื่อถึงเวลา
ไส้กรองอากาศของ ปั้มลมขนาดใหญ่ เป็นส่วนสำคัญที่คอยกรองเศษผงหรือฝุ่นที่จะเข้าไปอุดตันเครื่องได้ เพื่อให้ปั๊มลมทำงานได้อย่างราบรื่นจึงควรหมั่นตรวจสอบไส้กรองอากาศให้ดีเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไส้กรองแล้วก็ควรทำการเปลี่ยนมันตามกำหนดเวลาการใช้งาน แนะนำการเปลี่ยนในทุก ๆ 6 เดือนหรือต่ำกว่านั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปั้มลมของคุณให้ใช้งานได้อย่างดีที่สุด
9.) ตรวจสอบและเปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์
ควรตรวจสอบคอมเพรสเซอร์ปั๊มลมของคุณในกรณีที่ใช้น้ำมัน ควรตรวจดูในทุกๆวันหลังใช้งานว่าน้ำมันไม่แห้งไปจากนั้น จากทุก ๆ 100-500 ชม.การทำงานเพื่อใหคอมเพรสเซอร์ทำงานได้อย่างไม่ติดขัดเพราะถ้าหากว่าปล่อยให้น้ำมันแห้งไปอาจจะส่งผลเสียต่อเครื่องปั้มลมของคุณได้ เพราะอาจจะเกิดอาการติดขัด ลูกสูบหรือใบพัดทำงานได้ไม่เต็มที่หรืออาจจะส่งผลให้เครื่องร้อนเกินไปจนอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ จึงควรเติมน้ำมันเครื่องปั๊มลม (ชนิดเดิม) เพื่อป้องกันการสึกหรอ
10.) เปลี่ยนส่วนประกอบที่สึกหรอ
ควรตรวจสอบอายุการใช้งานของอะไหล่หรือตัวเครื่องของปั้มลมอยู่เป็นประจำเพราะว่าอาจจะมีบางส่วนที่สึกหรอไปตามอายุการใช้งานคุณอาจจะไม่สังเกตุเห็นด้วยตาปกติบางชิ้นส่วนที่ต้องทำการเปลี่ยนต้องทำการเปิดภายในตัวเครื่องออกมาตรวจสอบดูถึงจะรู้ อย่างเช่น ลิ้นป้องกันการใ้ชน้ำมันไม่ให้ใช้มากเกินไป จะต้องทำการเปลี่ยนในทุก ๆ 1000 ชม.ทำงาน เพราะอาจจะทำให้น้ำมันปนเข้ามากับลมได้มากขึ้นและอาจจะทำให้น้ำมันแห้งเร็วเกินไป คุณควรสำรวจให้แน่ใจว่าส่วนประกอบต่างๆยังทำงานได้ดีแค่ไหนและทำการเปลี่ยนส่วนประกอบอยู่เสมอๆ
11.) ทำความสะอาดตัวระบายความร้อน
หากว่าอุปกรณ์ของคุณเกิดความร้อนสะสมขึ้นมากเกินไปอาจจะทำให้คุณต้องเสี่ยงต่อความสูญเสียต่ออุปกรณ์ของคุณและอาจจะเป็นอันตรายต่อตัวคุณได้ด้วย การทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ติดตรงกรองความร้อนอาจจะช่วยให้อายุการใช้งานนานขึ้นได้อย่างดี เพราะฉะนั้นคุณควรทำความสะอาดเป็นประจำเพื่อทำให้ตัวเครื่องสามารถระบายความร้อนได้ดีที่สุด
ทั้งนี้ทั้งนั้นการปฏิบัติตามคำแนะนำด้านบนเป็นเพียงคำแนะนำเพื่อที่จะช่วยให้คุณได้มั่นใจได้ว่าปั๊มลมของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น