ปั๊มลม (Air Compressor) แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. ปั๊มลมแบบลูกสูบสายพาน จะใช้มอเตอร์และสายพานเป็นตัวขับเคลื่อน
2. ปั๊มลมโรตารี่ ใช้มอเตอร์ขับลูกสูบโดยตรง
3. ปั๊มลมออยฟรี (Oil free) เสียงเงียบและไม่ต้องเติมน้ำมันหล่อลื่น
4. ปั๊มลมแบบสกรู ใช้เพลาสกรูตัวผู้และตัวเมียหมุนเข้าหากันเพื่อดูดเเละอัดอากาศผ่านเกลียวสกรู
ปั๊มลมสกรูคืออะไร?
เป็นปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมสำหรับสายการผลิตที่ใช้ระบบลมและระบบสายพานลำเลียง เพราะมีกำลังในการผลิตลมได้มาก ให้แรงลมต่อเนื่องและมีความดันตามขนาดของตู้ เหมาะสำหรับงานหนัก โดยหลักการทำงานเบื้องต้น คือ ใช้สกรูเกลียวคู่ที่หมุนพันกันเพื่ออัดอากาศ ภายในชุดสกรูประกอบไปด้วยสกรูตัวผู้ และสกรูตัวเมีย ประกอบกันโดยมีชุดลูกปืนเป็นตัวประคองเพลา หมุนด้วยความเร็วประมาณ เพื่อสร้างกำลังอัดด้านดูด และส่งลมเข้าไปในระบบ หลักการคือเพลาสกรูสองตัว (เพลาสกรูตัวผู้และเพลาสกรูตัวเมีย) หมุนเข้าหากันดูด และอัดอากาศผ่านเกลียวสกรู ปั๊มลมสกรูโดยทั่วไปสามารถสร้างแรงดันลมได้ 13 บาร์
หลักการทำงาน
1.สกรูหรือโรเตอร์แบบเกลียวที่ปิดไว้สองตัวจะหมุนอย่างรวดเร็ว โดยขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์อัดอากาศ
2.การหมุนของสกรูจะดันอากาศเข้าไปในช่องระบายอากาศ สิ่งนี้จะสร้างสุญญากาศซึ่งดึงอากาศเข้าไปในห้องมากขึ้นผ่านช่องอากาศเข้าของปั๊มลม
3.เมื่ออากาศเคลื่อนผ่านช่องที่ต่อเนื่องกันของโรเตอร์ที่จับคู่ อากาศจะถูกบีบให้มีปริมาตรน้อยลง ส่งผลให้เกิดการอัดอากาศ
4.อากาศอัดออกจากชุดสกรู ซึ่งสามารถดักจับ ทำให้แห้ง กรอง และใช้งานหรือจัดเก็บได้
ส่วนประกอบของปั๊มลมสกรู
ปั๊มลมสกรู มีส่วนประกอบที่ค่อนข้างซับซ้อนและแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ผลิต รุ่น และรูปแบบการใช้งาน แต่ถึงอย่างนั้น ส่วนประกอบที่เป็นพื้นฐานของปั๊มลมสกรูส่วนใหญ่ก็จะเหมือนๆ กัน มีกระบวนการทำงานที่คล้ายๆ กัน งั้นเรามาดูกันว่า ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. สกรู/เพลา (Rotors/Rollers)
2. กระบอกอัดอากาศ (Compression Cylinder)
3. วาร์ลขาเข้า หรือ วาร์ลดูด (Suction Valve)
4. วาร์ลขาออก หรือ วาร์ลจ่าย (Discharge Valve)
5. แบริ่ง (Bearings)
6. ตัวกรองอากาศ (Air Filters)
7. ตัวกรองน้ำมัน (Oil Filters)
8. อุปกรณ์แยกน้ำมัน (Separators)
9. มอเตอร์ (Motor)
10. ถังลม (Storage Tanks)
แล้วทำไมโรงงานส่วนใหญ่ถึงเลือกใช้ปั๊มลมสกรู ?
1.) มีความต้องการใช้ปั๊มลมในปริมาณมาก
หากโรงงานของคุณกำลังใช้ปั๊มลมขนาด 15-20 แรงม้า แล้วปริมาณลมก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปั๊มลมสกรุสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้
2.) มีข้อจำกัดเรื่องเสียง
หากโรงงานของคุณตั้งอยู่ในเขตชุมชน มีความจำเป็นต้องเดินเครื่องจักรยามวิกาล หรือโรงงานของคุณต้องการเสียงที่เงียบในขณะปฏิบัติงาน การเลือกปั๊มลมสกรูคือคำตอบที่ใช่ เพราะเสียงของปั๊มลมลูกสูบที่มีขนาด 10 แรงม้านั้นดังมากกว่า 100 db ในขณะที่ปั๊มลมสกรูให้เสียงที่ดังประมาณ 70 db เท่านั้น จึงไม่ต้องกังวลว่าเสียงจะไปรบกวนผู้อยู่อาศัยรอบๆบริเวณโรงงาน หรือรบกวนพนักงานขณะปฏิบัติงาน
3.) ประหยัดพื้นที่มากกว่า
หากโรงงานของคุณมีพื้นที่ในปริมาณที่จำกัด ปั๊มลมสกรูจึงตอบโจทย์ความต้องการของคุณมากกว่าถ้าเทียบกับการใช้ปั๊มลมลูกสุบที่มีกำลังเท่ากัน ประหยัดพื้นที่สำหรับวางปั๊มลม เพื่อใช้สำหรับขั้นตอนการผลิตออย่างอื่นได้มากขึ้นอีก
4.) ประหยัดไฟฟ้า
ปั๊มลมสกรูและปั๊มลมลูกสูบ หากเทียบกันที่กำลังการผลิต ปั๊มลมสกรูจะทำลมได้มากกว่าปั๊มลมลูกสูบอย่างน้อย 10% ยกตัวอย่างเช่น ปั๊มลมลูกสูบขนาด 10 แรงม้า ผลิตลมที่แรงดัน 7 บาร์ได้ 950 ลิตร/นาที แต่ปั๊มลมสกรูขนาด 10 แรงม้า จะสามารถผลิตลมได้มากกว่า 1,050 ลิตร/นาที เป็นต้น
มารู้จักวิธีการเลือกใช้ปั๊มลมให้เหมาะสมกับงาน
1. ต้องทราบก่อนว่าในโรงงาน หรือสถานประกอบการต้องการใช้ลมประเภทไหน ลมสะอาดมากหรือน้อย มีน้ำมันปนไปกับลมได้ไหม
2.ปริมาณลมที่ใช้มากน้อยเพียงใด เพราะมากกว่า 90% ที่โรงงานอุตสาหกรรม หรือ สถานประกอบการต่างๆ ส่วนมากถูกผลิตออกมาใช้โดยปั๊มลม
3.สถานที่ตั้งของโรงงานหรือสถานประกอบการของคุณ มีข้อจำกัดเรื่องเสียงมากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการรบกวนกับสถานที่และบุคคลอื่น
4.ข้อจำกัดเกี่ยวกับสถานที่ มีพื้นที่ในการใช้สอยมากน้อยเพียงใด เพียงพอต่อการวางปั๊มลมที่คุณเลือกหรือไม่